กรมที่ดินเป็นหน่วยงานระดับกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ราษฎร และให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและ อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น รวมถึงการจัดการที่ทำกินให้ประชาชนตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ข้อสอบกรมที่ดินออกอะไรบ้าง
ในการสอบเข้ากรมที่ดิน การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องผ่านการสอบการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปภาคก. ของสำนักงานก.พ.ก่อน แต่ถ้าเป็นการสอบพนักงานราชการจะไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาคก.ของก.พ. แต่ในการสอบเข้ากรมที่ดินจะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ
- ครั้งที่1 คือ การสอบข้อเขียน
- ครั้งที่2 คือ การสอบสัมภาษณ์
ข้อสอบกรมที่ดิน วิชาเฉพาะตำแหน่ง
ในส่วนของข้อสอบกรมที่ดินวิชาเฉพาะตำแหน่ง เป็นวิชาที่ควรศึกษามาให้มากๆ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี โดยข้อสอบกรมที่ดินวิชาเฉพาะตำแหน่งจะเป็นระเบียบข้อกฎหมาย วิชากฏหมายควรฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตรา ฝึกการวิเคราะห์ข้อสอบ และควรฝึกทำข้อสอบเก่าให้มากๆ
ข้อสอบกรมที่ดินออกอะไรบ้าง และเตรียมตัวอย่างไร
หากถามว่าข้อสอบกรมที่ดินออกอะไรบ้างนั้นผู้เข้าสอบควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในใบประกาศ และนำเนื้อหาที่จะออกสอบมาทำความเข้าใจในแต่ละเรื่อง และควรค้นหาเนื้อหารวมถึงทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องและคิดว่าจำเป็น แล้วแยกใส่แฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้วก็ควรวิเคราะห์ว่าในแต่ละเนื้อหาจะต้องใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ และควรให้ความหนักเบากลับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนควรใช้เวลาเท่าไหร่ และอย่าลืมจัดตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลา นอกจากนี้ค้นหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย อาทิเช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบโดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมืองเศรษฐกิจและสังคม นอกจากวิชาการที่จะต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยนั้นมีการแบ่งองค์กรอย่างไร แต่ละส่วนขององค์กรทำหน้าที่อะไรทำงานอะไร ตำแหน่งที่เราต้องการจะบรรจุมีหน้าที่อะไร และผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ โดยการไปที่หน่วยงานนั้นหากมีห้องสมุดส่งเอกสารเผยแพร่ควรนำไปอ่าน รวมถึงควรศึกษาว่าในปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งงานที่จะทำหรือไม่อย่างไร
ข้อสอบกรมที่ดิน ส่วนการสอบสัมภาษณ์
ข้อสอบกรมที่ดินในส่วนของการสอบสัมภาษณ์นั้นจะเป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรทบทวนความรู้เกี่ยวกับกรมที่ดินหรือตำแหน่งที่ต้องการในส่วนข้อมูลที่เป็นเนื้อหาวิชาการต่างๆที่ได้เตรียมไว้แล้วในการสอบข้อเขียน ในส่วนของการสอบสัมภาษณ์นั้นอาจใช้เวลาครั้งละ 10 จนถึง 30 นาที แล้วแต่กรณี ฉะนั้นการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ผู้เข้าสอบจึงจำเป็นต้องทบทวนความรู้และข้อมูลบางประการ ไม่ควรเข้าสอบโดยไม่ทบทวนความรู้อะไรเลย ในการสัมภาษณ์จะเป็นการพูดคุยกันผู้เข้าสอบควรผ่อนคายตอบคำถามด้วยความจริงใจและเป็นธรรมชาติ โดยคณะกรรมการจะดูจากลักษณะการพูดจาและกริยาว่าเป็นอย่างไร อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญในส่วนของการสอบสัมภาษณ์นั้นคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์จะต้องดูดีสะอาด ผูกรัดผมให้สวยงามหากเป็นผู้หญิงควรแต่งงามแค่พองาม พูดอย่างเป็นธรรมชาติ ในการสอบสัมภาษณ์คำถามส่วนใหญ่ที่คณะกรรมการจะถามนั่นก็คือ
1.ให้แนะนำตัวเอง
2.เหตุผลที่ตัดสินใจในเข้ารับราชการ
3.ให้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
ข้อสอบกรมที่ดินในส่วนของพนักงานราชการ จะมีดังต่อไปนี้
วิชาที่ใช้สอบเป็นพนักงานราชการ ในการประเมินครั้งที่1 โดยการสอบข้อเขียน คือ ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับลักษณะงานที่จะปฏิบัติ 100 คะแนน
ส่วนการประเมินครั้งที่ 2 โดยการสอบสัมภาษณ์ จะมี 100 คะแนนเช่นกัน ซึ่งจะพิจารณาจากประวัติส่วนตัวประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษยสัมพันธ์ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจาอุปนิสัย อารมณ์ และทัศนคติ รวมถึงการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ข้อสอบกรมที่ดิน การสอบเป็นข้าราชการ
วิชาที่จะใช้สอบข้าราชการ มีดังนี้
1.ความรู้ความสามารถ เฉพาะตำแหน่ง 100 คะแนน
- ความรู้เกี่ยวกับ กรมที่ดิน
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ กรมที่ดิน
- พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และแก้ไขเพิ่มเติม
- ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497และประมวลกฎหมายที่ดิน กฎกระทรวง
- พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในลักษณะว่าด้วยพยานหลักฐาน
- พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
2.การสอบสัมภาษณ์ 100 คะแนน
เป็นการสอบเพื่อวัดความเหมาะสมในตำแหน่งที่จะบรรจุ และแต่งตั้งโดยการสัมภาษณ์ หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ท่วงท่าวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ การปรับตัวเข้าหาเพื่อนร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน เพื่อคัดเลือกให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะสมรรถนะ และอื่นๆที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง ทั้งนี้โดยกำหนดให้ผู้สมัครสอบสัมภาษณ์จะต้องสอบผ่านความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่งก่อน โดยจะต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ในภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
นี่ก็คือบทความรู้ข้อสอบกรมที่ดินออกอะไรบ้าง และจะต้องเตรียมตัวอย่างไรที่เรานำมาฝากกัน หวังว่าทุกท่านที่ได้อ่านคงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยในการเตรียมตัวสอบเข้ารับราชการหรือเป็นพนักงานราชการของกรมที่ดิน รวมถึงหากใครกำลังมองหาหนังสือข้อสอบกรมที่ดินอยู่แนะนำ Brain media ศูนย์จัดจำหน่ายหนังสือสอบราชการที่มีเนื้อหาอัพเดททันสมัย และครอบคลุมทุกหน่วยงานราชการไทย สนใจสามารถสอบถามได้ที่ http://brainmedia.in.th/