บทความน่ารู้

ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป

เจาะลึกข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปของพนักงานราชการให้ถูกต้อง!

อาชีพข้าราชการไม่ใช่อาชีพที่ใครอยากจะเป็นก็สามารถเป็นได้ทันที เพราะต้องมีการสอบและแข่งขันกับผู้คนนับร้อยนับพันมากมายเพื่อช่วงชิงตำแหน่งในอาชีพข้าราชการต่างๆ ซึ่งอาชีพข้าราชการก็สามารถแบ่งออกไปเป็นได้หลายอาชีพด้วยกัน แต่ก่อนที่จะเป็นการทดสอบความรู้ในแต่ละอาชีพ จะต้องมีข้อสอบหนึ่งที่ทุกคนที่ต้องการทำงานเป็นอาชีพข้าราชการต้องสอบทุกคน นั่นคือ การสอบบรรจุข้าราชการภาค ก.หรือที่เรียกว่าการสอบ ก.พ. ภาคก. นั่นเอง โดยในการสอบก.พ.ภาค ก. ก็แบ่งออกได้เป็นวิชาย่อยอีก 3 วิชา ได้แก่ ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ข้อสอบภาษาอังกฤษ และข้อสอบความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ซึ่งในแต่ละวิชาก็จะมีเนื้อหาที่ออกสอบ ความยากง่ายแตกต่างกัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปเจาะลึกกับข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปกัน ว่าในวิชานี้จะมีเนื้อหาที่จะต้องสอบอะไรบ้าง รวมถึงอ่านหนังสืออย่างไรถึงจะเข้าใจและทำข้อสอบได้ ถ้าอยากรู้แล้วล่ะก็ เราไปอ่านพร้อมกันได้เลย

ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปของพนักงานราชการ มีอะไรบ้าง?

ในการสอบก.พ.หรือการสอบบรรจุข้าราชการในส่วนของภาค ก. จะแบ่งวิชาข้อสอบออกเป็น 3 วิชา นั่นก็คือ ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ซึ่งมีเนื้อหาแตกต่างกัน ดังนี้

  1. ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ในวิชานี้จะแบ่งข้อสอบออกเป็น 50 ข้อ มีคะแนนรวมทั้งหมด 100 คะแนน ซึ่งในข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปจะประกอบไปด้วยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทย โดยคณิตศาสตร์จะเน้นการวัดความรู้ความเข้าใจในด้านการคำนวณ ตรรกศาสตร์ เงื่อนไขทางสัญลักษณ์และเงื่อนไขทางภาษา ส่วนวิชาภาษาไทยจะเน้นไปในด้านการเข้าใจในการใช้ภาษาไทย การจับใจความ สรุปใจความ และการเปรียบอุปมาอุปไมย โดยข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปจะมีแนวข้อสอบย่อยแบ่งออกได้ 3 ส่วน ดังนี้
  • การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม เป็นข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปที่วัดสิ่งที่สามารถนึกคิดได้ การเชื่อมโยงในเรื่องต่างๆ ทั้งคำ ประโยค สถานการณ์ต่างๆ รวมไปถึงสามารถหาข้อสรุปและความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งต่างๆได้ ทั้งแบบจำลอง รูปภาพ สัญลักษณ์ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
  • การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ เป็นข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปที่วัดในเรื่องของการใช้คณิตศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การประเมินความเพียงพอของข้อมูลที่มี และการเปรียบเทียบค่าในเชิงปริมาณอีกด้วย
  • การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา เป็นข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปที่วัดในเรื่องของการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องและมีความเข้าใจ ใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เข้าใจในภาษาไทย การตีความในด้านต่าง ๆ เช่น ข้อความ บทความ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงการอ่านจับใจความสำคัญรู้ถึงเหตุผลต่างๆ

โดยข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปนั้น มีเนื้อหาหลักที่ออกสอบบ่อย ตามตัวอย่างต่อไปนี้

  • อนุกรม เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในด้านปริมาณทางคณิตศาสตร์ ผลที่เกิดจากการบวกสมาชิกในลำดับไม่จำกัดเข้าด้วยกัน
  • คณิตศาสตร์ทั่วไป เรื่องนี้ยังอยู่ในเนื้อหาของการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ วัดความเข้าใจในด้านคณิตศาสตร์พื้นฐาน ใช้ประเมินค่าต่างๆได้
  • ตาราง เป็นเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ ใช้บอกการเปรียบเทียบของข้อมูลเชิงปริมาณได้ ใช้ประเมินความเพียงพอของข้อมูลได้
  • เงื่อนไขทางสัญลักษณ์ ยังเป็นส่วนของเนื้อหาในด้านการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณเช่นกัน
  • เงื่อนไขด้านภาษา เป็นการวัดความรู้ในเรื่องของการคิดวิเคราะห์เชิงภาษา การใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่านและเขียน การจับใจความสำคัญและการสรุปความ
  • อุปมาอุปไมย เป็นการคิดวิเคราะห์ในด้านภาษา เปรียบสิ่งต่างๆ 
  • เรียงประโยค เป็นข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปที่วัดในเรื่องของการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องและเข้าใจ 
  • บทความสั้นและยาว เป็นการวัดการอ่าน คิด วิเคราะห์ การจับใจความสำคัญ การตีความและสรุปความจากบทความที่ได้อ่าน ตีความออกมาอย่างมีเหตุและผล
  1. ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ เป็นการวัดความรู้ความสามารถในด้านการใช้ภาษาอังกฤษทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน วัดความเข้าใจในระดับเบื้องต้น
  2. ข้อสอบวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ประเมินความเข้าใจในเรื่องของกฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการที่ดี

เตรียมอ่านข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปอย่างไรถึงจะเข้าใจและทำข้อสอบได้

  • วางแผนการอ่านหนังสืออย่างเคร่งครัด โดยเราควรรู้เนื้อหาในแต่ละวิชาที่จะต้องสอบว่าสอบเรื่องอะไรบ้าง และดูว่าวิชาไหนเป็นจุดอ่อนและจุดแข็งของเรา โดยควรให้ความสำคัญกับวิชาที่เป็นจุดอ่อนหรือเราถนัดน้อยที่สุดก่อน และค่อยเก็บเนื้อหาในส่วนอื่นๆ
  • จัดหาคู่มือหรือหนังสือที่ใช้เตรียมสอบที่มีเนื้อหาในเล่มที่ครอบคลุมเรื่องที่จะสอบทั้งหมด โดยจะต้องมีการอธิบายอบ่างละเอียด มีโจทย์ให้ฝึกทำและมีเฉลยที่อธิบายละเอียดรู้ที่มาและที่ไป
  • ทำสรุปหลังจากการอ่านเนื้อหาจบ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ของเราเองที่ได้อ่านไป อีกทั้งยังสามารถใช้สรุปมาอ่านซ้ำอีกครั้งโดยที่ไม่ต้องเริ่มอ่านใหม่ทั้งหมดได้อีกด้วย
  • แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆหรือคนอื่น รวมไปถึงฝึกทำข้อสอบเก่าแบบจับเวลา เพื่อเป็นการได้ทบทวนความรู้ของเรา อีกทั้งยังช่วยทำให้เรารู้เรื่องอะไรใหม่ๆที่ไม่รู้มาก่อนได้
  • เตรียมตัว เตรียมของที่จำเป็นที่ต้องใช้สอบให้พร้อม อีกทั้งก่อนสอบควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้สมองของเราตื่นและหัวแล่นคิดคำตอบได้ง่าย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเจาะลึกข้อสอบความรู้ความสามารทั่วไป ว่ามีเนื้อหาที่ต้องสอบอะไรกันบ้าง  รวมไปถึงวิธีการเตรียมตัวสอบให้เข้าใจและทำข้อสอบได้ ทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติตามได้นะคะ โดยการเตรียมตัวให้พร้อมกับการสอบเป็นสิ่งที่ดีและสำคัญมากที่สุด เพราะจะทำให้เรามีความมั่นใจเมื่อเจอข้อสอบจริง ทุกคนสามารถหาหนังสือคู่มือการเตรียมตัวหรือหนังสือเตรียมสอบที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบมาไว้อ่านสักเล่ม โดยหนังสือที่ดีควรต้องมีเนื้อหาที่ตรงประเด็น มีความละเอียดครบถ้วน วันนี้เราจึงมีหนังสือมาแนะนำนั่นก็คือ Brain Media เป็นหนังสือเตรียมสอบข้าราชการที่ตอบโจทย์ผู้ที่เตรียมตัวสอบได้เป็นอย่างดี ได้มาตรฐาน เจาะลึกข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไปได้ครบ อีกทั้งยังมีข้อสอบให้ลองทำอีกด้วย ถ้าสนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่  Brain Media

บทความอื่นๆ

สำหรับใครหลาย