บทความน่ารู้

สอบท้องถิ่น

ทำความรู้จักการสอบราชการขั้นพื้นฐานอย่างการ “สอบท้องถิ่น”

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า การสอบท้องถิ่น แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร จะต้องสอบอะไรบ้าง สมัครยังไง เปิดสอบตอนไหน  ค่าสมัครเท่าไหร่ วันนี้เรามาทำความรู้จักการสมัครสอบท้องถิ่นกัน

การสอบท้องถิ่น คือ

การสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ที่ทำหน้าที่ปฏิบัติราชการ ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะประกอบไปด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.),องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล โดยในการสอบท้องถิ่นนั้นจะมีการเปิดสอบในหลากหลายตำแหน่ง ทั้งวุฒิในระดับปริญญาตรี และ วุฒิระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และจะทำการสอบในหลากหลายสาขาวิชา เช่น เกษตร บัญชี นิติศาสตร์ สาธารณสุข และวิศวกรรม  เป็นต้น อีกทั้งในการสอบท้องถิ่นนั้นผู้สอบจะสามารถเลือกเขตที่จะสอบบรรจุได้ และจะมีการเปิดรับสมัครโดยแบ่งเป็นภาคและเขตทั้งสิ้นจำนวน 10 เขต ตามอัตราว่างและตำแหน่งตามภาคหรือเขต      

เตรียมตัวสอบท้องถิ่น  

การสอบข้าราชการส่วนท้องถิ่นภาคกลาง จะประกอบด้วย 3 เขต ดังนี้

  • ภาคกลาง เขต 1 มี 7 จังหวัด ได้แก่

พระนครศรีอยุธยา , สิงห์บุรี ,ชัยนาท ,ลพบุรี ,นนทบุรีอ่างทอง และปทุมธานี

  • ภาคกลาง เขต 2 มี 9 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ,จันทบุรี ,ชลบุรี ,สมุทรปราการ ,นครนายก ,ตราด ,ระยอง ,ปราจีนบุรี และสระแก้ว
  • ภาคกลาง เขต 3 มี 8 จังหวัด ได้แก่ประจวบคีรีขันธ์ ,นครปฐม ,กาญจนบุรี ,สมุทรสาครเพชรบุรี ,สมุทรสงคราม ,ราชบุรี และสุพรรณบุรี

การสอบข้าราชการส่วนท้องถิ่นภาคเหนือ จะประกอบด้วย 2 เขต ดังนี้

-ภาคเหนือ เขต 1 มี 8 จังหวัด ได้แก่พะเยา ,เชียงราย ,แม่ฮ่องสอน ,เชียงใหม่ ,แพร่ ,ลำพูน ,น่าน และลำปาง

-ภาคเหนือ เขต 2 มี 9 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ ,ตาก ,อุทัยธานี ,กำแพงเพชร ,พิจิตรสุโขทัย ,พิษณุโลก ,เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์

การสอบข้าราชการส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะประกอบด้วย 3 เขต ดังนี้

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 มี 6 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ,ขอนแก่น ,บุรีรัมย์ ,ชัยภูมิมหาสารคราม และกาฬสินธุ์

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 มี 7 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ,ศรีสะเกษ ,มุกดาหารสุรินทร์ ,ยโสธร ,อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ด

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 มี 7 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร ,อุดรธานี ,เลย ,บึงกาฬนครพนม ,หนองคาย และหนองบัวลำภู

การสอบข้าราชการส่วนท้องถิ่นภาคใต้ จะประกอบด้วย 2 เขต ดังนี้

-ภาคใต้ เขต 1 มี 7 จังหวัด ได้แก่นครศรีธรรมราช ,สุราษฎร์ธานี ,ชุมพร ,กระบี่ ,ภูเก็ตระนอง และพังงา

-ภาคใต้ เขต 2 มี 7 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ,พัทลุง ,นราธิวาส ,ปัตตานี ,ตรัง ,ยะลา และสตูล

การสอบท้องถิ่น เปิดสอบตอนไหน

การเปิดสอบแต่ละปีจะไม่ตรงกัน เนื่องจากการสรรหาบุคลากรเพิ่มของส่วนงานข้าราชการนั้นค่อนข้างที่จะมีแบบแผนในหลายขั้นตอน โดยส่วนมากจะเปิดสอบช่วงหลังจากการสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ.

การสอบท้องถิ่น สมัครยังไง

การรับสมัครสอบในทุก ๆ ปี โดยทางคณะกรรมการกลางสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้รจะเปิดเว็บไซต์เพื่อใช้รับสมัครโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 

การสอบท้องถิ่น ค่าสมัครเท่าไร

สำหรับค่าสมัครสอบ จะมีค่าธรรมเนียมสอบจะอยู่ที่ 320 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมสอบการสอบ 300 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร  20 บาท

โดยสามารถเลือกชำระเงินได้ 2 ช่องทางคือ

1.การชำระเงินผ่านเครื่อง ATM ด้วยการสแกนQR code โดยมีธนาคารที่รองรับการชำระเงิน ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทย ธนาคารยูโอบี, ธนาคารธนชาต, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และธนาคารมิซูโฮ

2.การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ mobile banking โดยมีธนาคารที่รองรับการชำระเงิน ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์,  ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทย ธนาคาร ธนาคารธนชาต,  ธนาคารออมสิน, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารเกียรตินาคิน, ธนาคารทิสโก้ และธนาคารซิตี้ แบงก์ เอ็น เอ

การสอบท้องถิ่น เปิดสอบตำแหน่งใดบ้าง

1.ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ นักจัดการงานทั่วไป

นักจัตการงานทะเบียนและบัตร ,นักทรัพยากรบุคคล

นักประชาสัมพันธ์ ,นักป้องกันและบรรเทสาธารณภัย

นักผังเมือง ,นักพัฒนาชุมชน ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ,นักวิชาการเกษตร ,นักวิชาการคลัง ,นักวิชาการเงินและบัญชี ,นักวิชาการศึกษา ,นักสังคมสงเศราะห์ ,นิติกร ,วิศวกรเครื่องกล ,วิศวกรไฟฟ้า ,วิศวกรโยธา และสถาปนิก

2.ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ,เจ้าพนักงานเกษตร ,เจ้าพนักงานคลัง

เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ,เจ้าพนักงานทะเบียน ,เจ้าพนักงานทะเบียนและบัตร ,เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ,เจ้าพนักงานเทศกิจ ,เจ้าพนักงานธุรการ

เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ ,เจ้าพนักงานประปา

เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ,เจ้าพนักงานพัสดุ ,เจ้าพนักงานศูนย์เยาวชน ,เจ้าพนักงานสวนสาธารณะ

เจ้าพนักงานสาธารณสุข ,เจ้าพนักงานสุขาภิบาล

นายช่างเขียนแบบ ,นายช่างเครื่องกล ,นายช่างผังเมือง ,นายช่างไฟฟ้า ,นายช่างโยธา ,นายช่างสำรวจ ,สัตวแพทย์

3.ตำแหน่งครูผู้ช่วย ได้แก่ ครูผู้ช่วยเยกภาษาไทย ,ครูผู้ช่วยเอกเกษตร ,ครูผู้ช่วยเอกคณิตศาตร์ ,ครูผู้ช่วยเอกคหกรรม ,ครูผู้ช่วยเอกคอมพิวเตอร์ ,ครูผู้ช่วยเอกเคมี ,ครูผู้ช่วยเอกจีน ,ครูผู้ช่วยเอกชีววิทยา ,ครูผู้ช่วยเอกดนตรีไทย ,ครูผู้ช่วยเอกดนตรีสากล ,ครูผู้ช่วยเอกทะเบียนและวัดผล ,ครูผู้ช่วยเอกเทคโนการศึกษา ,ครูผู้ช่วยเอกนาฏศิลป์ ,ครูผู้ช่วยเอกแนะแนว ,ครูผู้ช่วยเอกบรรณารักษ์ ,ครูผู้ช่วยเอกปฐมวัย ,ครูผู้ช่วยเอกประถมศึกษา ,ครูผู้ช่วยเอกพลศึกษา ,ครูผู้ช่วยเอกภาษาอังกฤษ ,ครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์ ,ครูผู้ช่วยเอกศิลปะ ,ครูผู้ช่วยเอกสังคมศึกษา และครูผู้ดูแลเด็ก

การสอบท้องถิ่น จะประกาศผลตอนไหน

สำหรับการประกาศผลนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกันดังต่อไปนี้

ช่วงที่1 คือ ประกาศผลสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไป และความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งภาค ก. และ ภาค ข. โดยจะทำการประกาศผล หลังจากสอบไปแล้วไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งปกติจะประกาศใน ช่วง 2-3 อาทิตย์หลังจากการสอบ

ช่วงที่2 คือ ประกาศผลสอบวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งภาค ค. โดยหลังจากประกาศผลในรอบแรก จะมีการแจ้งวันและเวลาในการเข้าสอบวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งภาค ค. หลังจากนั้นจะแจ้งการขึ้นบัญชีรอบรรจุ หลังจากการสอบเสร็จสิ้นไปแล้วไม่เกิน 2 เดือน โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ  2-3 อาทิตย์ 

รู้จักการสอบท้องถิ่น

หวังว่าความรู้ที่เรานำมาฝากกัน จะทำให้เพื่อนๆรู้จักกับการสอบท้องถิ่นกันมากขึ้น หากใครกำลังมองหาหนังสือสำหรับการเตรียมสอบท้องถิ่น เราขอแนะนำ Brain media ให้บริการจำหน่ายหนังสือสอบราชการสำหรับการเตรียมตัวสอบเข้าบรรจุงานราชการ ตามหน่วยงานของประเทศไทย ที่มาพร้อมกับแนวข้อสอบเสมือนจริงมาพร้อมเฉลย เพื่อเตรียมตัวรับมือกับสนามสอบจริง และเพิ่มคะแนนให้ถึงเป้าหมาย สำหรับผู้ที่เคยสอบแล้ว แต่คะแนนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งยังมีหนังสือสอบที่ครอบคลุมหลากหลายหน่วยงานราชการ สนใจคลิกเลยที่เว็บไซต์  Brain Media

บทความอื่นๆ

สำหรับใครหลาย