บทความน่ารู้

แนวข้อสอบกรมบังคับคดี

การเตรียมตัวสอบและแนวข้อสอบกรมบังคับคดีสำหรับคนมีไฟ!

สำหรับใครที่ต้องการเข้ารับราชการ หรือเป็นพนักงานราชการของกรมบังคับคดี แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ต้องเตรียมตัวแบบไหน ต้องอ่านหนังสือวิชาอะไรบ้าง วันนี้เรามีบทความ การเตรียมตัวสอบและแนวข้อสอบกรมบังคับคดี มาให้ศึกษา เพื่อใช้ในการเตรียมตัวสอบเข้ารับราชการในกรมบังคับคดี ไปดูกันเลย

กรมบังคับคดี 

เป็นกรมสังกัดกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่บังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลาย ตลอดจนวางทรัพย์ทั่วประเทศ สำหรับในการสอบเข้ากรมบังคับคดี การสอบบรรจุเข้ารับราชการ ผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปในภาค ก.ของสำนักงานก.พ.ก่อน แต่ถ้าต้องการสอบเป็นพนักงานราชการ ก็ไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก.ของก.พ. 

ในการสอบเข้ารับราชการของกรมบังคับคดี จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ 

ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน 

ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ 

และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อน และเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ผู้เข้าสอบจะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

การเตรียมตัวสอบและแนวข้อสอบกรมบังคับคดี ก่อนการสอบ ผู้สอบจะต้องดูในระเบียบการสอบว่า แนวข้อสอบกรมบังคับคดีนั้นมีออกสอบอะไรบ้าง ซึ่งจะมีประกาศไว้ดังนี้

  • กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  • กฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่งภาคบังคับคดี
  • กฎหมายล้มละลาย-กฎหมายลักษณะพยาน

การเตรียมตัวสอบและแนวข้อสอบกรมบังคับคดี วิชาเฉพาะตำแหน่ง

สำหรับแนวข้อสอบกรมบังคับคดีวิชาเฉพาะตำแหน่งนั้นผู้เข้าสอบควรอ่านให้มากๆ และควรศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาเฉพาะตำแหน่งให้ดี โดยข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมาย 

  • ควรอ่านแนวข้อสอบกรมบังคับคดีฉบับเต็มและท่องให้ได้ทุกมาตรา รวมถึงควรฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความเพื่อให้จดจำง่าย แล้วสรุป ฝึกทำข้อสอบเก่าทำซ้ำๆจนกว่าจะเข้าใจ 
  • ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ คำนวณเวลาว่าเหลือกี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจ ว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวข้องและจำเป็นแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ -เมื่อได้เนื้อหาแนวข้อสอบกรมบังคับคดีครบทั้งหมดแล้ว ให้ทำการวิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหา ว่าจะใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำม่เทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ โดยให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนควรใช้เวลาเท่าไหร่ 
  • จัดทำตารางการอ่านหนังสือแนวข้อสอบกรมบังคับคดี โดยอาจแบ่งเป็นช่วงเวลาต่อสัปดาห์  แล้วนำมาแปะไว้ในที่ที่เราสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน 
  • ในการอ่านแนวข้อสอบกรมบังคับคดี ในแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้าง แลพให้นำปากกาเน้นไว้ส่วนรอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เราเน้นไว้ และสรุปเป็นภาษาของเรา เพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน นอนจากนี้ก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที
  • ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบ หรือนั่งรอหน้าห้องสอบ เพื่อป้องกันความกังวลใจ 
  • เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
  • ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานเพิ่มเติม เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม -ต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน หรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ 

การเตรียมตัวสอบและแนวข้อสอบกรมบังคับคดี ส่วนของการสอบสัมภาษณ์ 

ส่วนในการสอบสัมภาษณ์ จะเป็นการสอบด้วยการสนทนา ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนและเตรียมความรู้ รวมถึงข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการ หรือเนื้อหาที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาทีแล้วแต่กรณี 

  • ในการเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ผู้เข้าสอบจำเป็นต้องทบทวนความรู้ต่างๆ แนวข้อสอบกรมบังคับคดี และข้อมูลบางประการที่เกี่ยวกับกรมบังคับคดี ในการสอบสัมภาษณ์จะเป็นการพูดคุยกัน โดยไม่ต้องเครียดให้แสดงความจริงใจ เพราะกรรมการจะดูจากกริยา และลักษณะการพูดว่าเป็นอย่างไรบ้าง สิ่งที่สำคัญในจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณา นั่นก็คือ การแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ จะต้องดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด -ในการสัมภาษณ์ผู้เข้าสอบควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบเป็นธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถาม ดังต่อไปนี้ 
  1. ให้แนะนำตัวเอง
  2. เหตุผลของการตัดสินใจเข้ารับราชการ 
  3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน

แนวข้อสอบกรมบังคับคดี พนักงานราชการ

วิชาที่จะใช้ในการสอบเป็นพนักงานราชการของกรมบังคับคดี มีดังนี้คือการประเมินครั้งที่ 1 

โดยวิธีสอบข้อเขียน 100 คะแนน ได้แก่ 

  • ความรู้ทั่วไป ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ
  • ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติการประเมินครั้งที่ 2 

 

ความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยการสอบสัมภาษณ์ 100 คะแนน

  • จะพิจารณาจากประวัติส่วนตัว ,ประวัติการศึกษา ,ประวัติการทํางาน ,ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง ,การมีมนุษย์สัมพันธ์ ,ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ-มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจรรยาบรรณ

แนวข้อสอบกรมบังคับคดี ข้าราชการวิชาที่จะใช้ในสอบเป็นข้าราชการของกรมบังคับคดี มีดังนี้

ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  200 คะแนน 

  • การสอบสัมภาษณ์ 100 คะแนน 

จะเป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุ และแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์ หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ,ประวัติการศึกษา ,ประวัติการทํางานประสบการณ์ ,ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ,การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน ,สังคมและสิ่งแวดล้อม ,ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ,ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ,ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่งโดยการกําหนดให้ผู้สมัครสอบ จะต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งผ่านก่อน และตัอมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง


ทั้งหมดนี้คือ การเตรียมตัวสอบและแนวข้อสอบกรมบังคับคดี หากใครที่กำลังเตรียมตัวสอบและมองหาหนังสือแนวข้อสอบกรมบังคับคดี ที่มีเนื้อหาการเก็งข้อสอบที่แม่นยำ สามารถพิชิตคะแนนสอบได้ดี อยู่ล่ะก็ แนะนำ Brain media ศูนย์จัดจำหน่ายหนังสือสอบราชการที่มีเนื้อหาอัพเดททันสมัย และครอบคลุมทุกหน่วยงานราชการไทย สนใจสามารถสอบถามได้ที่ http://brainmedia.in.th/

บทความอื่นๆ

สำหรับใครหลาย