ข้าราชการเป็นอาชีพที่ใครต่างก็มีความใฝ่ฝัน เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง อีกทั้งยังมีรายได้ที่มั่นคงสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อีกด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีอัตราการแข่งขันที่สูงมาก และต้องมีการสอบวัดความรู้และการสอบแข่งขันกันควบคู่ไปด้วย แต่รู้หรือไม่ว่าข้าราชการนั้นก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้ในอีกหลายสาขาเลย อีกทั้งยังมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไปด้วย แล้วถ้าไม่ได้เป็นข้าราชการในกรุงเทพมหานครจะเรียกว่าอะไรล่ะ? ข้าราชการที่ไม่ได้ปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานคร เรียกว่าข้าราชการส่วนท้องถิ่นนั่นเอง ใครหลายคนอาจจะยังไม่รู้จักว่าข้าราชการท้องถิ่นคืออะไร การสอบข้าราชการท้องถิ่นคืออะไร ทำไมต้องสอบและมีการสอบอะไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับการสอบข้าราชการท้องถิ่นกันให้ละเอียดมากกว่าเดิม ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะเป็นอย่างไรไปดูกันเลย
การสอบข้าราชการท้องถิ่นคืออะไร?
การสอบข้าราชการท้องถิ่นเป็นการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานราชการในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ทั่วในทุกจังหวัดของประเทศไทยที่ไม่ใช่ส่วนของการปกครองที่อยู่ภายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะประกอบไปด้วย เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
โดยการสอบข้าราชการท้องถิ่นนั้นสามารถที่จะเลือกเขตที่เราจะสอบเข้าบรรจุได้ การเปิดรับสมัครและการสอบก็จะแบ่งออกไปตามเขตต่างๆและภาคต่างๆ ซึ่งจะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 10 เขต เปิดรับตามตำแหน่งและอัตราที่ว่างของเขตนั้นๆ การสอบข้าราชการท้องถิ่นนั้นมีการเปิดสอบในหลายตำแหน่ง คือ วุฒิระดับ ป.ตรี และ วุฒิระดับต่ำกว่า ป.ตรี อีกทั้งยังเปิดสอบในหลายวิชาอีกด้วย อาทิเช่น วิศวกรรม นิติศาสตร์ เกษตร บัญชี สาธารณสุข และอื่นๆอีกหลายวิชาด้วยกัน
การสอบข้าราชการท้องถิ่นต้องสอบอะไรบ้าง?
รูปแบบของการสอบข้าราชการท้องถิ่นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนได้แก่ การสอบภาค ก. กาสอบภาค ข. และการสอบภาค ค. โดยจะมีเนื้อหาในหารสอบของแต่ละภาคแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- การสอบภาค ก. เป็นการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป โดยจะเป็นการสอบแบบปรนัยหรือเป็นการสอบข้อเขียนแบบการเลือกคำตอบ ซึ่งสามารถแบ่งวิชาที่ต้องสอบออกได้เป็น 4 วิชา
- วิชาความสามารถในการวิเคราะห์ การศึกษาและการสรุปเหตุผล โดยเป็นการสอบที่ให้สรุปใจความสำคัญหรือให้จับประเด็นต่างๆในบทความ ให้วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลต่างๆ นอกจากนี้อาจจะมีการให้หาแนวโน้มและความน่าจะเป็นไปได้อีกด้วย
- วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ เป็นการสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นการสอบที่ควบคุมกฎหมายและพระราชบัญญัติต่างๆมากมาย
- วิชาภาษาไทย เป็นการสอบวัดความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทย เป็นการให้ตีความจากข้อความ สรุปใจความ หรือเป็นการให้พิจารณารูปแบบการใช้ภาษาต่างๆ เป้นต้น
- วิชาภาษาอังกฤษ เป็นการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทั้งการอ่าน การสรุปความ การเขียน หรือให้ทดสอบโดยวิธีการอื่นๆที่เหมาะสมกับการทดสอบความรู้ความสามารถในวิชาดังกล่าว
- การสอบภาค ข. เป็นการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งที่เราต้องการบรรจุ ซึ่งข้อสอบนั้นเป็นข้อสอบแบบปรนัย สอบเกี่ยวกับความรู้ความสามารถในตำแหน่งนั้นๆ รวมถึงแนวทางในการปฏิบัติงานในตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่สมัครสอบแตกต่างกัน ข้อสอบที่ใช้ในการสอบก็มีความแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
- การสอบภาค ค. ก็ยังคงเป็นการสอบวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเช่นเดียวกับภาค ข. แต่จะเป็นการประเมินและวัดจากตัวผู้สอบ ทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ผ่านมาที่ปรากฏจากทางอื่นของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ผู้สอบ เพื่อวัดความเหมาะสมในการเข้ารับตำแหน่งนี้ โดยรายละเอียดในการสอบของแต่ละตำแหน่งก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปด้วย
การสอบข้าราชการท้องถิ่น เปิดสอบตอนไหน?
โดยการสอบข้าราชการท้องถิ่นในแต่ละปีนั้นไม่ตรงกัน ส่วนใหญ่การสอบข้าราชการท้องถิ่นจะเปิดหลังการสอบภาค ก. ของการสอบก.พ.ไปแล้ว เนื่องจากการรับบุคลากรในส่วนข้าราชการท้องถิ่นนั้นมีแบบแผนขั้นตอน ซึ่งสามารถคอยติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจอีกด้วย
สมัครสอบข้าราชการท้องถิ่นอย่างไร?
โดยปกติแล้วทางคณะกรรมการกลางจะทำการ จะเปิดเว็บไซต์พิเศษเพื่อใช้รับสมัครโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในการเปิดรับสมัครการสอบท้องถิ่น จึงต้องคอยติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ
ประกาศผลการสอบข้าราการท้องถิ่นตอนไหน?
การประกาศผลการสอบข้าราชการท้องถิ่นนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ดังนี้
- ประกาศผลสอบการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปและความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ในภาค ก. และภาค ข. จะประกาศหลังจากการทำการสอบไปแล้วไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งปกติแล้วช่วงเวลาที่ประกาศจะอยู่ที่ 2-3 สัปดาห์หลังการสอบ
- ประกาศผลสอบการวัดความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่งในภาค ค. จะมีการแจ้งวันเวลาที่สอลและประกาศผลชัดเจน จากนั้นจะมีการประกาศแจ้งเกี่ยวกับการขึ้นบรรจุ มีอายุ 2 ปี หลังจากการสอบเสร็จสิ้นไปทั้งหมดแล้ว ไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 2-3 สัปดาห์
เป็นอย่างไรกันบ้าง รู้จักการสอบข้าราชการท้องถิ่นเพิ่มหรือไม่ การสอบบรรจุข้าราชการเป้นการสอบที่มีการแข่งขันสูง ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมและมั่นใจก็เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยตัวช่วยที่สำคัญคือการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม วันนี้เรามีหนังสือมาแนะนำ นั่นก็คือ Brain
Media เป็นคู่มือและหนังสือเตรียมสอบบรรจุข้าราชการที่มีความละเอียดครบถ้วน อ่านและเข้าใจได้ง่าย อีกทั้งยังมีการอัปเดตข่าวสารอีกด้วย สามารถเลือกชมและหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Brain Media ที่นี่เลย